มาพูดคุยกันแบบชาวบ้าน น้ำเกลือก็ช่วยฆ่าเชื้อโรคในขณะที่เราล้าง โดยปกติถ่ายเข้าร่างกายเรา 300 และจะตั้งน้ำหนักเพื่ิอเอาไว้อีก 300 แล้วบางครั้งไส้กรองมีการดันจาก เกล็ดเลือดหรือเลือดข้น ( แล้วเคยคิดไหมว่าทำไม เลือดข้น ) เมื่อเลือดข้น ก็ต้องให้น้ำเกลือมากขึ้นเพื่อไปล้าง ไม่ให้ไส้กรองตัน แต่การให้น้ำเกลือไปล้างปล่อยก็ไม่ดี คุณก็ต้องให้ อิเตอรีน หรือยาละลายลิ้มเลือด
link ข้อดีข้อเสียของยาละลายลิ้มเลือด
มีหลายอย่าง เช่น ทำให้ความดันมีมากขึ้น ทำให้เกล็ดเลือดเสียทำให้เกล็ดต่ำลงอีก ทำให้ระดับน้ำตาลไม่คงตัว และถ้าให้มากๆ ปล่อยก็จะค้างในร่างกายเราส่งผลไปส่วนต่างๆของร่างกาย เช่นทำให้เส้นเลือดในตาอุดดัน ทำให้เส้นเลือดฟองในตาบังตาเราไปตลอดๆ
ลิงค์นี้บอกข้อดีข้อเสียของยาละลายลิ้มเลือด
คำถาม
มีอยู่ทำถามที่คุณไม่เคยสงสัย ถ้าให้น้ำเกลือมากกว่าปกติ 500-600 ถามว่าแล้วน้ำเกลือที่เข้าไปในร่างกายคนเรา แล้วจะออกทางไหน
ถำตอบของพยาบาล
ถ้าถามพยาบาลก็บอกว่า ก็ตั้งเพื่อไว้ให้ 500 แล้ว
คุณคงไม่งง ก็เค้าตั้งเอาน้ำออกไปแล้วไหง 500 แต่ถ้าคุณคิดให้ดีดีหน่อย น้ำเกลือที่ใส่เข้าไป กว่าจะเดินทางไปหาหัวใจ และ กว่าหัวใจปั้มออกมา ก็เปรียมหัวใจเหมือนกับโรงการปะปา ที่จ่ายน้ำไปให้บ้านต่างๆ แล้ว ในร่างกายเลือดต้องวิ่งไปกี่หมื่นแสนจุด แต่จะให้มันออกมาจุดเดียวหมดในขณะล้างได้ไหม
ถามว่าให้ไป 500 มันจะออกในตอนล้างเลยไหม ทางออกก็คือบ้านหลังหนึ่ง เปิดก็อกน้ำหนึ่งก๊อก แล้วน้ำที่ออกมาคือน้ำเกลือไหม แต่เป็นกับว่่า การเอาน้ำในร่างกายเอาออก 500 แล้วเอาน้ำเกลือไปแทนที่ 500
พอมาล้างอีกเค้าก็เอาใส่เข้าไปอีก น้ำเกลือออกได้หมดไหม เหมือนกับว่าเอาน้ำเกลือไปแทนที่ น้ำในร่างกายเรา น้ำเกลือจะออกได้ก็ต้องเป็นหน้าของอะไร ตับ ไต ดังนั้นมันก็ต้องทำงานหนักกว่าเดิมไหม
แล้วน้ำเกลือค้างอยู่ในกระแสเลือดมาก ขนาดไหน แล้วคนเป็นโรคไต จะปัสสาวะออกได้แบบคนปกติไหม เพราะการจะเอาน้ำเกลือออกมาหมดได้ก็ต้องปัสสาวะอย่างเดียว
แล้วคนเข้าเป็นโรคไตให้กินเกลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ไหงทำไมให้น้ำเกลือเค็มข้นปริมาณมากๆ ทางกระแสเลือดอีกต่างหาก
ยิ่งพยาบาลให้น้ำเกลือมากเท่าไหร ก็จะทำให้การเต้นของหัวใจ หรือ ความดันให้สูงมาก หรือ น้อยมากก็ได้ สังเกตุ การใช้น้ำเกลือของพยาบาล ส่วนใหญ่ ปล่อยออกมาที่เดียว 300 หรือ 100 เป็นการอัดน้ำเกลือเข้าร่างกายที่เดียวเยอะ จนตัวเลขของเครื่องอ่านค่าไม่ได้ ขนาดเครื่องอ่านค่าไม่ได้พักใหญ่ แล้วร่างกายคนเราละ ขนานเค้ามีห้ามไม่ให้น้ำเกลือทีละ มากๆๆ เร็วๆ แต่พยาบาลต้องการความสะดวก รวดเร็ว
อ้างอิง
ข้อควรระวังในการให้น้ำเกลือ
1. ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ โรคไตวาย หรือมีอาการบวมทั่วตัว ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ และควรหลีกเลี่ยงการใช้ น้ำเกลือที่มีความเข้นข้นของเกลือมาก เพราะอาจทำให้หัวใจวาย หรือเกิดภาวะน้ำคั่งในปอด หรือปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) ได้
2. ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำเกลือที่มีความเข้มข้นของเกลือมาก (เช่น NSS, 5%D/NSS) ยกเว้นในรายที่มีภาวะขาดเกลือร่วมด้วย
3. ผู้ป่วยที่เป็นเด็กเล็กไม่ควรใช้น้ำเกลือที่มี NSS ผสม ควรใช้น้ำเกลือที่มีความเข้มข้นน้อย ได้แก่ น้ำเกลือที่มี ความเข้มข้น 0.3% เช่น 5% D in 1/3 NSS
4. ควรให้น้ำเกลือเฉพาะในรายที่มีความจำเป็น (มีข้อบ่งใช้) จริง ๆ เท่านั้น น้ำเกลือไม่ใช่ยาบำรุง ยาเพิ่มเลือด หรือยาเพิ่มแรง และก็ไม่ใช่ยาที่ใช้แทนอาหาร จึงไม่ควรใช้อย่างพร่ำเพรื่อ
5. ควรเตรียมเครื่องใช้ให้สะอาด ปราศจากเชื้อโรค และทำตามเทคนิคที่ถูกต้อง
6. ควรให้น้ำเกลือช้า ๆ หรือ น้อย ๆ ไว้ก่อน เมื่อเห็นว่าน้อยไปก็เพิ่มเติมในภายหลังได้ อย่าให้เร็วเกินไป (ยกเว้นใน กรณีที่มีภาวะขาดน้ำรุนแรง หรือช็อก ควรให้เร็ว ๆ ใน 1-2 ชม.แรก) มิฉะนั้นอาจทำให้บวม น้ำคั่งในปอดหรือหัวใจวายได้
7. หมั่นตรวจดูผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด (โดยเฉพาะในเด็กเล็ก คนสูงอายุ คนที่เป็นโรคหัวใจ หรือโรคไตวาย) ถ้าหากมี อาการบวม หายใจหอบ และฟังปอดมีเสียงกรอบแกรบ (crepitation) แสดงว่ามีน้ำคั่งในปอด เนื่องจากให้ น้ำเกลือมากเกินไป ต้องหยุดน้ำเกลือ และฉีดยาขับปัสสาวะ เช่น ลาซิกซ์ 1-2 หลอดเข้าหลอดเลือดดำทันที หากยังหอบอยู่ให้รีบพาไปโรงพยาบาล
8. ถ้ามีอาการหนาวสั่น ระหว่างให้น้ำเกลือ แสดงว่าผู้ป่วยแพ้น้ำเกลือ ให้ถอดเข็มน้ำเกลือออก และฉีดยาแก้แพ้ เช่น คลอร์เฟนิรามีน 1/2-1 หลอดเข้ากล้ามทันที ถ้าจำเป็นต้องให้น้ำเกลือต่อ ควรเปลี่ยนขวดใหม่
อาการแสดงว่าให้น้ำเกลือแล้วดีขึ้น
ผู้ป่วยที่มีภาวะขาดน้ำหรือช็อก เมื่อให้น้ำเกลือแล้วมีอาการดังต่อไปนี้ แสดงว่าอาการดีขึ้น
1. มีความรู้สึกตัวดีขึ้น พูดคุยได้ดีขึ้น หน้าตาดูอิ่มขึ้น ผิวหนังเต่งตึงขึ้น หอบน้อยลง และกระสับกระส่ายน้อยลง
2. ความดันเลือดที่เคยตก เริ่มกลับคืนสู่ระดับปกติ
3. ชีพจรที่เคยเต้นเบาและเร็ว กลับเต้นแรงขึ้น และช้าลง
4. มีปัสสาวะออกมากขึ้น โดยให้ผู้ป่วยปัสสาวะลงกระโถน หรือขวด แล้วตวงดู จะพบว่าปัสสาวะออกอย่างน้อย 1 มล.ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ต่อชั่วโมง เช่น ผู้ป่วยหนัก 30 กก. ใน 1 ชั่วโมง ควรมีปัสสาวะออกอย่างน้อย 30 มล.
น้ำเกลือไม่ใช่ยาบำรุง ยาเพิ่มเลือด หรือยาเพิ่มแรง ควรใช้เมื่อยามจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น
0 Response to "น้ำเกลือกับการล้างไต"
แสดงความคิดเห็น