คุณเคยคิดไหม คนที่ล้างไตต้องให้ น้ำเกลือทุกครั้ง เพื่อล้างไส้กรอง
ถ้าคุณต้องให้ 500 ml 3 ครั้งต่ออาทิย์ = 1500 ml
และถ้า 1 เดือน 12x500 = 5600 ml น้ำเกลือออกจากร่างกายก็โดยการฉี่ แต่คนเป็นโรคไตจะ
ฉี่่น้อย แล้วน้ำเกลือจะค้างใน กระแสเลือดจำนวนมาก จะเกิดอะไรกับร่างกาย น้ำเกลือมีประโยนช์
ร่างกายจะดูดซับ แต่น้ำเกลือที่ให้ กับคนไข้มี หลายแบบอะไร บาง ให้สำหรับล้างกับให้สำหรับ
เพื่อฟู ร่างกายหรือเปล่า แล้วถ้ามีในกระแสเกลือมาก หรือได้รับเป็นปี จะมีผลกับ เม็ดเลือดหรือ หลอดเลือดหรือเปล่า เพราะถ้ามากก็คือ กรด
ดังนั้นเราต้องรู้จัก น้ำเกลือกันก่อน
น้ำเกลือ 1 ถุงจะประกอบด้วย น้ำเกลือ + น้ำตาล
ชนิดของน้ำเกลือ ที่ใช้บ่อยได้แก่
1.นอร์มัลซาไลน์ (Normal saline solution/NSS) หมายถึง น้ำเกลือเกลือธรรมดาที่มีความเข็มข้น 0.9% ซึ่งเท่ากับกับความเข้มข้นของเกลือในกระแสเลือดของ คนปกติ มีอย่างขนาด 500 มล. และ 1,000 มล.
2.5% เดกซ์โทรส ( 5% Dextrose in water หรือ 5%D/W) หมายถึงน้ำตาลเดกซ์โทรสที่มีความเข้นข้น
5% ไม่มีเกลือแร่ผสม มีอย่างขนาด 500 มล. และ 1,000 มล.
3.5% เดกซ์โทรสในนอร์มัลซาไลน์ (5% Dextrose in NSS หรือ 5% D/NSS) หมายถึง น้ำตาลเดกซ์โทรส
เข้มข้น 5% ผสมกับน้ำเกลือธรรมดา
4.5% เดกซ์โทรสใน 1/3 นอร์มัลซาไลน์ (5% Dextrose in 1/3 NSS) หมายถึง น้ำตาลเดกซ์โทรสเข้มข้น
5 % ผสมกับน้ำเกลือที่มีความเข้มข้น 0.3% (เข้มข้นเพียง 1/3 ของน้ำเกลือธรรมดา) มีอย่างขนาด 500 มล. และ 1,000 มล.
NSS = ความเข็มข้นหรือปริมาณของเกลือ D = ปริมาณของน้ำตาล
ผลข้างเคียง
1. ถ้าเครื่องใช้และน้ำยาไม่สะอาด หรือเทคนิคการให้ไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดการอักเสบ หรือติดเชื้อได้
2. ถ้ามีฟองอากาศ เพราะไล่อากาศจากสายน้ำเกลือไม่หมด ฟองอากาศจะเข้าไปในหลอดเลือดดำ และเข้าสู่หัวใจ อาจเป็นอันตรายได้
3.มีอาการไข้และหนาวสั่น จากการแพ้น้ำเกลือ
4.ถ้าใช้น้ำเกลือที่มีความเข้มข้นของเกลือมากกว่าความเข้มข้นของเกลือในเลือด อาจเป็นอันตรายถึงตายได้ โดย เฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก
5.ถ้าให้น้ำเกลือมากหรือเร็วเกินไป อาจทำให้บวม มีน้ำคั่งในปอด หรือหัวใจวายถึงตายได้หรือ ความดันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก คนสูงอายุ คนที่เป็นโรคหัวใจ หรือโรคไตอยู่ก่อน
ข้อควรระวัง
1.ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ โรคไตวาย หรือมีอาการบวมทั่วตัว ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ และควรหลีกเลี่ยงการใช้ น้ำเกลือที่มีความเข้นข้นของเกลือมาก เพราะอาจทำให้หัวใจวาย หรือเกิดภาวะน้ำคั่งในปอด หรือปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) ได้
2.ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำเกลือที่มีความเข้มข้นของเกลือมาก (เช่น NSS, 5%D/NSS) ยกเว้นในรายที่มีภาวะขาดเกลือร่วมด้วย
3.ผู้ป่วยที่เป็นเด็กเล็กไม่ควรใช้น้ำเกลือที่มี NSS ผสม ควรใช้น้ำเกลือที่มีความเข้มข้นน้อย ได้แก่ น้ำเกลือที่มี ความเข้มข้น 0.3% เช่น 5% D in 1/3 NSS
4.ควรให้น้ำเกลือเฉพาะในรายที่มีความจำเป็น (มีข้อบ่งใช้) จริง ๆ เท่านั้น น้ำเกลือไม่ใช่ยาบำรุง ยาเพิ่มเลือด หรือยาเพิ่มแรง และก็ไม่ใช่ยาที่ใช้แทนอาหาร จึงไม่ควรใช้อย่างพร่ำเพรื่อ
5.ควรเตรียมเครื่องใช้ให้สะอาด ปราศจากเชื้อโรค และทำตามเทคนิคที่ถูกต้อง
6.ควรให้น้ำเกลือช้า ๆ หรือ น้อย ๆ ไว้ก่อน เมื่อเห็นว่าน้อยไปก็เพิ่มเติมในภายหลังได้ อย่าให้เร็วเกินไป
(ยกเว้นใน กรณีที่มีภาวะขาดน้ำรุนแรง หรือช็อก ควรให้เร็ว ๆ ใน 1-2 ชม.แรก) มิฉะนั้นอาจทำให้บวม น้ำคั่งในปอด หรือหัวใจวายได้
7.หมั่นตรวจดูผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด (โดยเฉพาะในเด็กเล็ก คนสูงอายุ คนที่เป็นโรคหัวใจ หรือโรคไตวาย) ถ้าหากมี อาการบวม หายใจหอบ และฟังปอดมีเสียงกรอบแกรบ (crepitation) แสดงว่ามีน้ำคั่งในปอด เนื่องจากให้น้ำเกลือมากเกินไป ต้องหยุดน้ำเกลือ และฉีดยาขับปัสสาวะ เช่น ลาซิกซ์ 1-2 หลอดเข้าหลอดเลือดดำทันที หากยังหอบอยู่ให้รีบพาไปโรงพยาบาล
8.ถ้ามี อาการหนาวสั่น ระหว่างให้น้ำเกลือ แสดงว่าผู้ป่วยแพ้น้ำเกลือ ให้ถอดเข็มน้ำเกลือออก และฉีดยาแก้แพ้ เช่น คลอร์เฟนิรามีน 1/2-1 หลอดเข้ากล้ามทันที ถ้าจำเป็นต้องให้น้ำเกลือต่อ ควรเปลี่ยนขวดใหม่
เสริมความเข้าใจ
อาการแสดงว่าให้น้ำเกลือแล้วดีขึ้น ผู้ป่วยที่มีภาวะขาดน้ำหรือช็อก เมื่อให้น้ำเกลือแล้วมีอาการดังต่อไปนี้ แสดงว่าอาการดีขึ้น
7.หมั่นตรวจดูผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด (โดยเฉพาะในเด็กเล็ก คนสูงอายุ คนที่เป็นโรคหัวใจ หรือโรคไตวาย) ถ้าหากมี อาการบวม หายใจหอบ และฟังปอดมีเสียงกรอบแกรบ (crepitation) แสดงว่ามีน้ำคั่งในปอด เนื่องจากให้น้ำเกลือมากเกินไป ต้องหยุดน้ำเกลือ และฉีดยาขับปัสสาวะ เช่น ลาซิกซ์ 1-2 หลอดเข้าหลอดเลือดดำทันที หากยังหอบอยู่ให้รีบพาไปโรงพยาบาล
8.ถ้ามี อาการหนาวสั่น ระหว่างให้น้ำเกลือ แสดงว่าผู้ป่วยแพ้น้ำเกลือ ให้ถอดเข็มน้ำเกลือออก และฉีดยาแก้แพ้ เช่น คลอร์เฟนิรามีน 1/2-1 หลอดเข้ากล้ามทันที ถ้าจำเป็นต้องให้น้ำเกลือต่อ ควรเปลี่ยนขวดใหม่
เสริมความเข้าใจ
อาการแสดงว่าให้น้ำเกลือแล้วดีขึ้น ผู้ป่วยที่มีภาวะขาดน้ำหรือช็อก เมื่อให้น้ำเกลือแล้วมีอาการดังต่อไปนี้ แสดงว่าอาการดีขึ้น
1.มีความรู้สึกตัวดีขึ้น พูดคุยได้ดีขึ้น หน้าตาดูอิ่มขึ้น ผิวหนังเต่งตึงขึ้น หอบน้อยลง และกระสับกระส่ายน้อยลง
2.ความดันเลือดที่เคยตก เริ่มกลับคืนสู่ระดับปกติ
3.ชีพจรที่เคยเต้นเบาและเร็ว กลับเต้นแรงขึ้น และช้าลง
4.มีปัสสาวะออกมากขึ้น โดยให้ผู้ป่วยปัสสาวะลงกระโถน หรือขวด แล้วตวงดู จะพบว่าปัสสาวะออกอย่างน้อย 1 มล.ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ต่อชั่วโมง เช่น ผู้ป่วยหนัก 30 กก. ใน 1 ชั่วโมง ควรมีปัสสาวะออกอย่างน้อย 30 มล.
น้ำเกลือไม่ใช่ยาบำรุง ยาเพิ่มเลือด หรือยาเพิ่มแรง ควรใช้เมื่อยามจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น
5% เด็กซ์โทรส (5% Dextrose in Water)
ข้อบ่งใช้
สำหรับเด็กและผู้ใหญ่ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรืออดอาหาร
ขนาดและวิธีใช้
ผู้ใหญ่ 1,000-2,000 มล. ใน 12-24 ชม.
เด็ก 100 มล. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ใน 24 ชม.
5% เด็กซ์โทรสใน 1/3 น้ำเกลือ (5% Dextrose in 1/3 NSS)
ข้อบ่งใช้
สำหรับเด็กที่มีภาวะขาดน้ำ, ช็อก, ไข้เลือดออก, อดอาหาร หรือมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ขนาดและวิธีใช้
100 มล. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ใน 24 ชม. ถ้ามีภาวะขาดน้ำรุนแรง หรือช็อกใน 2 ชม. แรก ควรให้ขนาด
20-40 มล. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก.5% เด็กซ์โทรสใน น้ำเกลือ (5% Dextrose in NSS)
ข้อบ่งใช้
สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะขาดน้ำ, ช็อก อดอาหาร, หรือมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ขนาดและวิธีใช้
ผู้ใหญ่ 1,000-2,000 มล. ใน 12-24 ชม. ในรายที่มีภาวะขาดน้ำรุนแรงหรือช็อก ในระยะแรกควรให้เร็ว ๆ จนอาการดีขึ้น จึงหรี่ให้ช้า ๆ
ข้อควรระวัง
1.ห้ามให้ทางหลอดเลือดดำในเด็กเล็ก เพราะมีปริมาณของเกลือเข้มข้นกว่าเกลือที่มีอยู่ในกระแสเลือดของเด็ก อาจเป็นอันตรายได้
2.ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวาย ไตวาย ความดันโลหิตสูงหรือบวมทั่วตัว ควรหลีกเลี่ยงการให้ (ยกเว้นในรายที่มีภาวะขาดเกลือ)
0 Response to "น้ำเกลือที่ให้เวลาป่วย"
แสดงความคิดเห็น