ยาความดันมีหลายประเภทและ ยาความดันนั้นจะรักษาตามอาการของคนไข้ที่เกิดเป็นหลัก หรือการให้ยาความดันตามอาการ ที่คนไข้บอก ก่อนอื่นๆต้องรู้ก่อนว่า ยาความดันมีหลายกลุ่ม ที่ยกมาเป็นบทความเก่า ปัจจุบันอาจมีมากกว่า และคุณรู้ไหมว่า ยาความดันหลายตัวที่ ทำให้ระดับแคสเซียม โพทัสเซียมมีระดับสูงต่ำได้ คุณควบคุมการกินแล้วทำไมยัง สูงหรือต่ำอยู่อีก
ยาลดความดันโลหิตสูง ยาลดความดันโลหิตสูง มีอยู่ 7 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มยาขับปัสสาวะ ได้แก่ ยาไฮโดรคลอโรธัยอาไซด์ (hydrochlorothiazide) ยาฟูโรซีมายด์ (furosemide) ยาอะมิโลรายด์ (amiloride) เป็นต้น ยาจะออกฤทธิ์โดยการขับเกลือออกจากร่างกาย ทำให้ปัสสาวะบ่อย ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้คือ อาจจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ ระดับโปแตสเซียมในเลือดผิดปกติ ระดับไขมันในเลือดสูง ยากลุ่มหมอมักให้คนที่เป็นโรคไตที่ปัสสาวะน้อย มีน้ำมามาก
2. กลุ่มยาปิดกั้นการไหลของแคลเซียมเข้าสู่เซลล์ ได้แก่ ยาไนเฟดิปีน (nifedipine) ยาแอมโลดิปีน (amlodipine) เป็นต้น จากการ ปิดกั้นการไหลของแคลเซียมเข้าสู่เซลล์ นี้เองจะเป็นผลให้กล้ามเนื้อที่หลอดเลือดคลายตัวและนำไปสู่การขยายตัวของหลอดเลือด ทำให้ความดันโลหิตลดลงตามมา ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงได้แก่ ใจสั่น ปวดศีรษะ ข้อเท้าบวม ท้องผูก
3. กลุ่มยายับยั้งการสร้างแอนจิโอแทนซิน เรียกย่อๆ ว่ากลุ่มยาเอซีอีไอ (ACEI) ซึ่งย่อมาจาก angiotensin converting enzyme ได้แก่ ยาอินาลาพริล (enalapril) ยาแคปโตพริล (captopril) ยาไลสิโนพริล (lisinopril) เป็นต้น ยาจะออกฤทธิ์โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่สร้างแอนจิโอแทนซิน (angiotensin) ซึ่งมีผลทำให้หลอดเลือดหดตัว ดังนั้นเมื่อไม่มีแอนจิโอแทนซิน การหดตัวของหลอดเลือดจึงเกิดน้อยลง ทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ได้แก่ ไอแห้งๆ เกิดภาวะโปแตสเซียมในเลือดสูง หรือหยุดการใช้แคลเซียม
4. กลุ่มยาขัดขวางการจับตัวรับแอนจิโอแทนซิน เรียกย่อๆ ว่ากลุ่มยาเออาบี (ARB) ซึ่งย่อมาจาก angiotensin receptor blocker ได้แก่ ยาลอซาร์แทน (losartan) ยาเออบิซาร์แทน (irbesartan) ยาวาลซาร์แทน (valsartan) ยาแคนดิซาร์แทน (candesartan) เป็นต้น ผลของการขัดขวางไม่ให้แอนจิโอแทนซินจับกับตัวรับนี้จะทำให้หลอดเลือดขยายตัว ความดันโลหิตจึงลดลง ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ได้แก่ เกิดภาวะโปแตสเซียมในเลือดสูง
5. กลุ่มยาปิดกั้นเบต้า ได้แก่ ยาอะทีโนลอล (atenolol) ยาโปรปราโนลอล (propranolol) ยาเมโตโปรลอล (metoprolol) เป็นต้น ยาจะปิดกั้นระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้หัวใจเต้นช้าลง ชีพจรช้าลง แล้วเกิดความดันโลหิตลดลงตามมา ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ ที่พบบ่อยได้แก่ อาการอ่อนเพลียซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงแรกที่รับประทานยาแต่อาการจะลดลงเมื่อ รับประทานยาอย่างต่อเนื่องประมาณ 1-2 สัปดาห์ อาการข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจพบได้คือ อาการซึมเศร้า ฝันร้าย เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
ยากลุ่มนี้ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด หรือ เป็นโรคถุงลมโป่งพอง
เพราะอาจทำให้อาการของโรคปอดดังกล่าวกำเริบได้ง่ายขึ้น
6. กลุ่มยาปิดกั้นแอลฟ่า ได้แก่ ยาปราโซสิน (prazosin) ยาด๊อกซาโสซิน (doxasozin) เป็นต้น ยากลุ่มนี้จะปิดกั้นระบบประสาทอัตโนมัติที่กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดขยายตัว และเป็นผลให้ความดันโลหิตลดลง ผลข้างเคียงที่พบบ่อยของยากลุ่มนี้คือ ความดันต่ำเวลาเปลี่ยนท่าซึ่งอาจทำให้เกิดอาการหน้ามืดได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่ใช้ยานี้ควรระมัดระวังการเปลี่ยนอิริยาบถอย่างทันทีทันใด เช่น หากต้องการลุกขึ้นยืนเมื่ออยู่ในท่านอนมานานๆ ควรเปลี่ยนเป็นท่านั่งก่อน แทนที่จะลุกขึ้นยืนจากท่านอนทันที อาการข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจพบได้แก่ ปวดศีรษะ ใจสั่น อ่อนแรง
7. กลุ่มยาขยายเส้นเลือดแดง ได้แก่ ยาไฮดราลาซีน (hydralazine) ยาไมนอกซีดิล (minoxidil) เป็นต้น ยามีฤทธิ์ขยายเส้นเลือดโดยตรง ทำให้ความดันโลหิตลดลง
ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ ได้แก่ หน้าแดง ใจสั่น ปวดหัว เป็นต้น
อ้างอิงแนะนำให้อ่านให้หมดจะได้รู้เรื่องยาความดันได้เต็มที่
ส่วนใหญ่แนะนำการกินยาความดัน
http://www.thailabonline.com/drug/drug19.htm
บทความด้านบน
http://www.healthtoday.net/thailand/pharmacy/pharmacy_101.html
ชื่อยาความดันมาถามท่าน กู google ชื่อยาในแต่ละกลุ่มจะมีชื่อ คล้ายกันหรือลงท้ายเหมือนๆกัน เพื่อให้คนขายยาและหมอรู้ได้ว่าเป็นยากลุ่มไหน
เป็นเว็บเมืองนอกที่บอก
Heart.org
websit มีบอกชื่อยาว่า อยู่ในกลุ่มยาทำงานประเภทไหน เป็นภาษาไทย
siamhealth.net
หาข้อมูลผลของยาความดัน ให้พิมพ์ใน Google
{Pressure Medications Side effects}
0 Response to "ถ้าต้องกินยาความดัน-คุณต้องรู้เรื่องยานี้"
แสดงความคิดเห็น