ยาลดความดันส่วนใหญ่มีผลข้างเคียงแถาบไม่น่าเชื่อ


การกินยาลดความดัน ควรตรวจเช็คค่าของ แร่ธาตุต่างๆในร่างกายเราก่อนว่ามี มากหรือน้อยอย่างไหง เพื่อให้หมอดูว่า กินยาลดความดัน ชนิดไหนดีมีผลต่อร่างกาย น้อยที่สุด
กลุ่มยาลดความดันโลหิต
- ยาลดความดันโลหิตมีหลายกลุ่ม ออกฤทธิ์ต่างกัน โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่ายาชนิดไหนเหมาะกับท่าน ดังนั้นท่านไม่ควรรับประทานยาตามผู้อื่น
- ผู้ป่วยควรวัด และบันทึกความดันโลหิตในแต่ละช่วงเวลาตลอดทั้งวัน เพื่อให้แพทย์สามารถปรับยาให้เหมาะสมแก่สภาพความดันโลหิตได้
- การรับประทานยาความดันโลหิตควรกินให้ตรงเป็นเวลา เพื่อที่ระดับของยาความดันในกระแสเลือดจะได้คงที่ หากลืมกินยาลดความดัน ให้กินทันทีที่นึกได้ เว้นแต่เวลาล่วงเลยไป จนใกล้เวลามื้อถัดไป ก็ให้งดยามื้อที่ลืมกิน และให้กินยามื้อถัดไปในขนาดเท่าเดิม
- อาการข้างเคียงของยาลดความดันโลหิต
ผู้ป่วยที่ได้รับยาลดความดันโลหิตครั้งแรก หรือได้รับการเพิ่มยาหรือลดยา ควรสังเกตความผิดปกติของร่างกาย เช่น หน้ามืด เป็นลม ใจสั่น เป็นต้น และควรเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น ลุกขึ้นนั่ง หรือ ลุกขึ้นยืนอย่างช้า ๆ หากมีอาการ หน้ามืด เป็นลม ใจสั่น ให้หยุดกิจกรรมต่าง ๆ นั่งพักสักครู่จนกว่าอาการจะดีขึ้น ถ้าเกิดอาการอย่างนี้บ่อย ๆ หรือรุนแรง ให้ติดต่อแพทย์ทันทีเพื่อจะได้หยุดยาหรือปรับยาได้
-กลุ่มยาลดความดันและอาการข้างเคียง
ตัวอย่างยา
อาการไม่พึงประสงค์ของยาที่พบได้บ่อย
-ไอแห้ง ๆ
-ภาวะโพแตสเซียมในเลือดสูง   หญิงมีครรดและโรคไตระวัง
โลร์ซาร์แทน(โคซาร์)
-ภาวะโพแตสเซียมในเลือดสูง
-มีอาการอ่อนเพลีย
-หัวใจเต้นช้าลง
-การหยุดยาทันทีทันใดทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงอย่างมาก
-ภาวะโพแตสเซียมในเลือดต่ำ
- การมองเห็นภาพไม่ชัดเจน
-การควบคุมน้ำตาลในเลือดทำได้ยากขึ้น
-ภาวะกรดยูริคในเลือดสูง
-ภาวะไขมันในเลือดสูง
-เป็นพิษต่อหู ทำให้การได้ยินลดลง

หรือยา  Lasix
นิฟิดิปีน(อะดาแลต,นิลาปีน)
แอมโลดิปีน(นอร์วาส,แอมโลปีน)
เฟโลดิปีน(เพลนดิล)
-ใจสั่น
-ข้อเท้าบวม
-เหงือกโต
เวอราพามีน(ไอซอฟติล)
ดิลไทอะเซม(เฮอร์เบสเซอร์)
-ท้องผูก  หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นผื่นคัน
-ข้อเท้าบวม
-หัวใจเต้นช้าลง

ดิลไทอะเซม ระวังการใช้ยาอาจทำให้ 

ด๊อกซาโซซิน(คาร์ดูล่า)
พราโซซิน(มินิเพรส)
เทอราโซซิน(ไฮทริล)
-หน้ามืด ในช่วงที่ได้รับยาช่วงแรก ๆ
-เวียนศรีษะ
-ใจสั่น
-ใจสั่น  หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจมีอาการเจ็บหน้าอกและการหายใจติดขัด/หายใจลำบาก หน้าแดง ขาหรือเท้าบวม อาจพบอาการชาตามมือ เท้า
-ขนขึ้นตามตัว ใบหน้า
-การรับประทานยาในวันฟอกเลือด
ถ้าในขณะฟอกเลือดหรือชั่วโมงท้าย ๆ ของการฟอกเลือด ความดันของผู้ป่วยลดลงมาก แพทย์ก็อาจจะสั่งให้งดรับประทานยาความดันก่อนฟอกเลือด หรือให้งดยาความดันบางตัวก็ได้

เป้าหมายของการรักษา
ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง เป้าหมายหลักของการรักษาคือการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดให้น้อยที่สุด โดยการรักษาต้องลดระดับความดันโลหิตร่วมกับการลดปัจจัยเสี่ยงที่พบร่วมด้วยทั้งหมด
ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงควรลดความดันโลหิตให้น้อยกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท และให้ต่ำกว่านี้อีกหากเป็นโรคเบาหวานหรือมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น อัมพาต อัมพฤกษ์ โรคหัวใจขาดเลือด เป้าหมายการลดความดันควรน้อยกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท

ยาลดความดันโลหิตสูง ยาลดความดันโลหิตสูงมีอยู่ 7 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มยาขับปัสสาวะ ได้แก่ ยาไฮโดรคลอโรธัยอาไซด์ (hydrochlorothiazide) ยาฟูโรซีมายด์ (furosemide) ยาอะมิโลรายด์ (amiloride) เป็นต้น ยาจะออกฤทธิ์โดยการขับเกลือออกจากร่างกาย ทำให้ปัสสาวะบ่อย ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้คือ อาจจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ ระดับโปแตสเซียมในเลือดผิดปกติ ระดับไขมันในเลือดสูง

2. กลุ่มยาปิดกั้นการไหลของแคลเซียมเข้าสู่เซลล์ ได้แก่ ยาไนเฟดิปีน (nifedipine) ยาแอมโลดิปีน (amlodipine) เป็นต้น จากการปิดกั้นการไหลของแคลเซียมเข้าสู่เซลล์นี้เองจะเป็นผลให้กล้ามเนื้อที่หลอดเลือดคลายตัวและนำไปสู่การขยายตัวของหลอดเลือด ทำให้ความดันโลหิตลดลงตามมา ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงได้แก่ ใจสั่น ปวดศีรษะ ข้อเท้าบวม ท้องผูก มีแคลเซียมในเลือดมาก แต่ไม่ได้ใช้งาน
ตรวจพบแคลเซียมมาก แต่มีอาการ คล้ายคนขาดแคลเซียม มือเท้าชา

3. กลุ่มยายับยั้งการสร้างแอนจิโอแทนซิน เรียกย่อๆ ว่ากลุ่มยาเอซีอีไอ (ACEI) ซึ่งย่อมาจาก angiotensin converting enzyme ได้แก่ ยาอินาลาพริล (enalapril) ยาแคปโตพริล (captopril) ยาไลสิโนพริล (lisinopril) เป็นต้น ยาจะออกฤทธิ์โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่สร้างแอนจิโอแทนซิน (angiotensin) ซึ่งมีผลทำให้หลอดเลือดหดตัว ดังนั้นเมื่อไม่มีแอนจิโอแทนซิน การหดตัวของหลอดเลือดจึงเกิดน้อยลง ทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ได้แก่ ไอแห้งๆ เกิดภาวะโปแตสเซียมในเลือดสูง

4. กลุ่มยาขัดขวางการจับตัวรับแอนจิโอแทนซิน เรียกย่อๆ ว่ากลุ่มยาเออาบี (ARB) ซึ่งย่อมาจาก angiotensin receptor blocker ได้แก่ ยาลอซาร์แทน (losartan) ยาเออบิซาร์แทน (irbesartan) ยาวาลซาร์แทน (valsartan) ยาแคนดิซาร์แทน (candesartan) เป็นต้น ผลของการขัดขวางไม่ให้แอนจิโอแทนซินจับกับตัวรับนี้จะทำให้หลอดเลือดขยายตัว ความดันโลหิตจึงลดลง ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ได้แก่ เกิดภาวะโปแตสเซียมในเลือดสูง

5. กลุ่มยาปิดกั้นเบต้า ได้แก่ ยาอะทีโนลอล (atenolol) ยาโปรปราโนลอล (propranolol) ยาเมโตโปรลอล (metoprolol) เป็นต้น ยาจะปิดกั้นระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้หัวใจเต้นช้าลง ชีพจรช้าลง แล้วเกิดความดันโลหิตลดลงตามมา ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ ที่พบบ่อยได้แก่ อาการอ่อนเพลียซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงแรกที่รับประทานยาแต่อาการจะลดลงเมื่อรับประทานยาอย่างต่อเนื่องประมาณ 1-2 สัปดาห์ อาการข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจพบได้คือ อาการซึมเศร้า ฝันร้าย เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ 
ยากลุ่มนี้ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด หรือ เป็นโรคถุงลมโป่งพอง เพราะอาจทำให้อาการของโรคปอดดังกล่าวกำเริบได้ง่ายขึ้น

6. กลุ่มยาปิดกั้นแอลฟ่า ได้แก่ ยาปราโซสิน (prazosin) ยาด๊อกซาโสซิน (doxasozin) เป็นต้น ยากลุ่มนี้จะปิดกั้นระบบประสาทอัตโนมัติที่กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดขยายตัว และเป็นผลให้ความดันโลหิตลดลง ผลข้างเคียงที่พบบ่อยของยากลุ่มนี้คือ ความดันต่ำเวลาเปลี่ยนท่าซึ่งอาจทำให้เกิดอาการหน้ามืดได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่ใช้ยานี้ควรระมัดระวังการเปลี่ยนอิริยาบถอย่างทันทีทันใดเช่น หากต้องการลุกขึ้นยืนเมื่ออยู่ในท่านอนมานานๆ ควรเปลี่ยนเป็นท่านั่งก่อน แทนที่จะลุกขึ้นยืนจากท่านอนทันที อาการข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจพบได้แก่ ปวดศีรษะ ใจสั่น อ่อนแรง

7. กลุ่มยาขยายเส้นเลือดแดง ได้แก่ ยาไฮดราลาซีน (hydralazine) ยาไมนอกซีดิล (minoxidil) เป็นต้น ยามีฤทธิ์ขยายเส้นเลือดโดยตรง ทำให้ความดันโลหิตลดลง ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ ได้แก่ หน้าแดง ใจสั่น ปวดหัว เป็นต้น

โดยทั่วไปแพทย์จะให้ยาลดความดันโลหิตเพียงขนานเดียวก่อน หากยังไม่สามารถลดความดันโลหิตได้จึงจะให้ยาหลายขนานร่วมกัน แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่ายาใดเหมาะสม โดยมักจะเลือกให้ยาที่มีผลในการลดความดันโลหิตตลอด 24 ชั่วโมง ให้รับประทานเพียงวันละครั้ง เพื่อความสะดวก และสามารถควบคุมความดันโลหิตไม่ให้แกว่งมากในระหว่างวัน 

หากคุณเป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงและได้รับการรักษาด้วยยาลดความดันโลหิต คุณควรที่จะใช้ยาอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ไม่ขาดยา ไม่ลดขนาดยาหรือเพิ่มขนาดยาเอง และต้องไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง แพทย์อาจให้คุณรับประทานยาเดิมหรือปรับขนาดยาให้ใหม่ ซึ่งเภสัชกรจะจัดยาให้คุณและแนะนำการใช้ยาที่ถูกต้องให้ หากมียาเก่าเหลือ คุณควรพกยาติดตัวไปด้วย เพื่อที่เภสัชกรจะได้เก็บยาที่แพทย์สั่งเลิกใช้ออกไป หรือเปลี่ยนฉลากยาให้ใหม่ในกรณีที่แพทย์เปลี่ยนขนาดยา นอกจากนี้คุณไม่ควรใช้ยาลดความดันโลหิตสูงของผู้อื่น เนื่องจากสภาพร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เช่น อาจมีภาวะการทำงานของไตบกพร่อง หรือมีภาวะโรคอื่นหรือยาอื่นที่ใช้ร่วมด้วย เป็นต้น การใช้ยาให้น้อยที่สุด น่าจะเป็นผลดีต่อร่างกายที่สุด ดังนั้นผู้ที่มีความดันโลหิตสูงควรพยายามปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมเพื่อช่วยให้ความดันโลหิตลดต่ำลงเป็นอันดับแรก ด้วยการงดสูบบุหรี่ การลดน้ำหนัก ลดการดื่มแอกอฮอล์ ลดการรับประทานเกลือ (ควรได้รับโซเดียมคลอไรด์น้อยกว่า 6 กรัม/วัน) รับประทาน DASH diet (Dietary Approach to Stop Hypertension) คือ เพิ่มอาหารประเภทผัก ผลไม้ และลดไขมันอิ่มตัวและลดปริมาณไขมัน ร่วมกับออกกำลังกายวันละ 30-45 นาที อย่างสม่ำเสมอ และหากต้องใช้ยาโปรดปรึกษาเภสัชกร

การเรียนรู้ผลของยาจะทำให้ สามารถระวังตัวเอาไว้ เช่น ทานยานั้นมาก นาน ก็ให้มั้นตรวจ อาการที่เกิดผลของยา ไปด้วยเสมอเพื่อป้องกัน หายโรค ไปได้ระยะมาเป็นอีกโรค รักษาไม่รู้จักจบ  ยาก็ต้องทานตามหมอสั่ง เลียงไม่ได้ แต่เราป้องกันผลข้างเคียงของยาได้ ถ้าเรารู้

Websit ให้ความรู้เกี่ยวกับยา ลดความดัน
http://www.thailabonline.com/drug/drug19.htm

1 Response to "ยาลดความดันส่วนใหญ่มีผลข้างเคียงแถาบไม่น่าเชื่อ"